พระนางเธอลักษมีลาวัณ
มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าวรรณพิมล วรวรรณ
เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร
กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กับหม่อมหลวงตาด วรวรรณ (สกุลเดิม มนตรีกุล)
ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้รับการสถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ เมื่อวันที่ 4
เมษายน พ.ศ. 2464 ขณะพระชันษาได้ 22 ปี และในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2464
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ พร้อมกับทรงหมั้น และมีพระราชวินิจฉัยว่า จะได้ทรงทำการราชาภิเษกสมรส ในภายหน้า ดังพระบรมราชโองการว่า
"ศุภมัสดุ พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ ปัจจุบันกาล สุริยคตินิยม กันยายนมาศ
อัฏฐมาสาหคุณพิเศษ บริเฉทกาลกำหนด
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ ฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระดำริว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ
ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นที่พอพระราชหฤทัย
ดังมีความแจ่มแจ้งอยู่ในประกาศพบรมราชโองการ ลงวันที่ ๔ เมษายน
พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ นั้นแล้ว บัดนี้ได้ทรงพระราชวินิจฉัยว่า
จะได้ทรงทำการราชาภิเษกสมรส ณ เบื้องหน้า
จึงเป็นการสมควรยกย่องพระเกียรติยศให้ยิ่งขึ้น
จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านั้น
มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ
จงทรงเจริญพระชนมายุ พรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสมบัติ
สรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลทุกประการ เทอญ "
หลังจากการเฉลิมพระยศได้เพียงหนึ่งเดือนสิบเก้าวัน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงอภิเษกสมรสกับ พระสุจริตสุดา
ธิดาของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.
2464 และทรงตัดสินพระราชหฤทัย "แยกกันอยู่" กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณซึ่งยังมิได้อภิเษกสมรสกัน
ต่อมาพระองค์เจ้าลักษมีลาวัณก็ได้รับโปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็น
พระนางเธอลักษมีลาวัณ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2465
เสมือนรางวัลปลอบพระทัย
หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ได้รับส่วนแบ่งจากพระราชมรดก อาทิ เพชร, ทอง, สังวาล, กระโถนทอง
และพานทอง
พระนางเธอลักษมีลาวัณก็ทรงพอพระทัยที่จะแยกพระตำหนักไปประทับอยู่ห่างจากเจ้าพี่เจ้าน้อง
ที่พระตำหนักลักษมีวิลาศ ทรงประทับอยู่อย่างสันโดษ
และเพื่อเลี่ยงความเงียบเหงาพระนางจึงทุ่มเทไปกับงานพระนิพนธ์
และการเขียนบทละครร้องและการรื้อฟื้นคณะละครปรีดาลัยของพระบิดา
พระนางเธอลักษมีลาวัณทรงใช้เวลาว่างให้หมดไปกับการทรงพระอักษรและนิพนธ์ไว้หลายเรื่องโดยใช้นามปากกาว่า
ปัทมะ และ วรรณพิมล
พระนางเธอลักษมีลาวัณ
ถูกลอบปลงพระชนม์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504 สิริพระชนมายุ 62 พรรษา
ซึ่งผู้ก่อคดีฆาตกรรมคืออดีตคนสวนที่พระองค์ไล่ออก
และก่อคดีดังกล่าวด้วยประสงค์ในทรัพย์สินส่วนพระองค์
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
กำเนิดชุมชนโปรตุเกสและวิถีชีวิตท่ามกลางชุมชนนานาชาติ
กำเนิดชุมชนโปรตุเกสและวิถีชีวิตท่ามกลางชุมชนนานาชาติ ชุมชนโปรตุเกสก่อตัวขึ้นในปีพ.ศ.2083(ค.ศ.1540) กล่าวคือ “ในแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิ...
-
ภาพเอกสารดั้งเดิม บางส่วน ในคราว "เปิดกรุวัดราชบูรณะ" จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๕๐๑ อ้างอิง : จิตรกรรมและศิลปวัตถุในกรุพระปรา...
-
ไขปริศนาภาพ "ยูเดีย" ภาพกรุงศรีอยุธยาที่เก่าแก่และงดงามสุด ฮันนีมูนทริปนี้ ผมขอภรรยาไปอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อแวะดู...
-
พระนางเธอลักษมีลาวัณ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าวรรณพิมล วรวรรณ เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พง...
No comments:
Post a Comment